ปัญหาที่มักพบในการให้อาหารสายยางผ่านรูจมูกครั้งที่แล้ว ทางเราได้พูดถึงการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยผ่านทางผนังหน้าท้อง และรวมไปถึงปัญหาที่มักพบได้บ่อยในขณะให้อาหารทางสายยางผ่านทางหน้าท้อง ซึ่งการให้อาหารทางสายยางถึงแม้ว่าจะเป็นการรักษาทางการแพทย์อย่างหนึ่ง แต่ก็สามารถทำให้เกิดปัญหาหรือภาวะแทรกซ้อนได้ เพราะเนื่องจากผู้ป่วยได้รับสารอาหารเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการที่ไม่ปกติ ซึ่งการรับสารอาหารที่ไม่ปกตินั้นเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสำลักอาหาร การอาเจียนระหว่างการให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงทางด้านร่างกายก็ถือว่ามีผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน เพราะการให้อาหารในรูปแบบนี้ มีการใช้สายยางให้อาหารสอดใส่เข้าสู่ร่างกายของผู้ป่วย
ซึ่งก็มีผลกระทบต่อร่างกายยกตัวอย่างเช่น การใส่สายยางให้อาหารผ่านทางรูจมูกอาจจะทำให้เกิดการอักเสบที่ลำคอ เนื่องจากสายยางให้อาหารที่อยู่ภายในลำคอ อาจจะทำให้เกิดการระคายเคือง การอักเสบได้ สำหรับวันนี้เราจะพูดถึงปัญหาที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยมักพบได้บ่อยในการให้อาหารทางสายยางผ่านทางรูจมูก ซึ่งเราจะมาแนะนำวิธีการใส่สายยาง และวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องเพื่อให้ผู้ดูแลสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกวิธี
การใส่สายยางให้อาหารผ่านทางรูจมูก จะทำโดยวิธีการนำสายยาสอดผ่านจากรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งของผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ ผ่านไปในโพรงจมูก ลงไปในคอหอย หลอดอาหาร และทำให้ปลายสายยางให้อาหารอยู่ในตำแหน่งของกระเพาะอาหาร ซึ่งปัญหาที่อาจจะพบได้บ่อยคือ สายยางให้อาหารเกิดการลื่นหลุดออกจากตำแหน่งของกระเพาะอาหาร และปัญหาทางกายภาพคือ สายยางให้อาหารทำให้จมูก เกิดการอักเสบได้ เนื่องจากให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุจมูกข้างนั้น ๆ และสายยางให้อาหารอาจจะทำให้เกิดคออักเสบ หรือต่อมทอนซิลอักเสบได้
รวมไปถึงสายยางให้อาหารอาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองที่รูเปิดของท่อปรับความดันของหูชั้นกลางซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก และก่อให้เกิดหูอื้อหรือก่อให้เกิดหูชั้นกลางอักเสบได้ ดังนั้นการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายยาง ไม่ว่าจะในรูปแบบของการใส่สายยางให้อาหารผ่านทางรูจมูกหรือทางผนังหน้าท้อง ผู้ดูแลจะต้องดูแลรักษาและเอาใจใส่ในเรื่องของความสะอาด และสุขลักษณะของผู้ป่วยให้สะอาดอยู่เสมอ รวมไปถึงควรหมั่นสังเกตสายยางให้อาหารว่ามีสีที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ หรือลักษณะของสายยางเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากพบความผิดปกติต้องรีบแก้ไขทันที เพื่อที่ผู้ป่วยจะไม่ได้รับอันตรายและเกิดถาวะแทรกซ้อน
สำหรับขั้นตอนการใส่สายยางให้อาหารทางรูจมูก ผู้ดูแลควรตรวจสอบว่ามีความผิดปกติหรืออุดตันที่รูจมูกข้างใดหรือไม่ โดยการซักประวัติและการตรวจร่างกายผู้ป่วยด้วยไฟฉายหรือใช้แผ่นพลาสติกอังจมูกเพื่อตรวจดูไอน้ำที่ออกจากรูจมูกทั้ง 2 ข้าง วัดความยาวของสายยางให้อาหารโดยวัดจาก nose tip ไป earlobe , จาก earlobe ไป epigastrium แล้วท้าเครื่องหมายไว้ที่สาย จากนั้นดัดปลาย NG tube ให้โค้งงอประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อให้ง่ายต่อการใส่สายยางให้อาหาร ควรหล่อลื่นปลายสายด้วยสารหล่อลื่นยาวประมาณ 2 ถึง 4 นิ้ว ใส่สายยางให้อาหารผ่านจมูก ผ่าน คอหอย หลอดอาหาร จนไปถึงกระเพราะอาหารและควรทำสัญลักษณ์ไว้
เพื่อป้องกันการลื่นหลุด ตรวจสอบตำแหน่งของสายยางให้อาหารโดยการให้ผู้ป่วยอ้าปาก ตรวจสอบว่าสายยางขดอยู่ในปากหรือไม่ และต้องตรวจสอบว่าในลำคอของผู้ป่วยมีเสมหะหรือไม่ ถ้ามีต้องดูดออกให้หมด ถ้าไม่มีให้ดันลม 20 – 30 มล เข้าทางสายยางให้อาหารแล้วฟังเสียงลมตรงบริเวณลิ้นปี่ด้วยหูฟัง ยึดสายไว้กับจมูกผู้ป่วยด้วยแถบกาว เพื่อป้องกันสายหลุด เพราะบางครั้งผู้ป่วยเกิดความรำคาญก็อาจจะรั้งดึงออกได้ ทั้งหมดนี่คือวิธีการใส่สายยางให้อาหารทางรูจมูก
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ เรามีบริการอาหารทางสายยางที่มีคุณภาพถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะมีการควบคุมและการออกแบบสูตรโดยนักโภชนาการผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งยังมีการผลิตอาหารภายในห้องปลอดเชื้อของโรงพยาบาล จึงมั่นใจได้ว่าอาหารปั่นผสมจะมีความปลอดภัย มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงพยาบาลชั้นนำเลยทีเดียว